วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

PETERPAN

                                                           
ปีเตอร์ แพน (อังกฤษ: Peter Pan) เป็นตัวละครตัวหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยนักประพันธ์ชาวสก๊อต ชื่อ เจ. เอ็ม. แบร์รี่ เป็นเด็กชายผู้หนึ่งที่สามารถบินได้ และมีมนต์พิเศษในการปฏิเสธการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่กลับเป็นเด็กตลอดกาล เขาใช้ชีวิตวัยเด็กตลอดกาลของเขาท่องเที่ยวผจญภัยอยู่ในเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในดินแดนเนเวอร์แลนด์ เป็นหัวหน้าของแก๊งเด็กหลง อยู่กับหมู่นางฟ้า และต่อสู้กับโจรสลัด
 ปีเตอร์ แพนจะมาพบปะกับเด็กธรรมดาๆ ในโลกภายนอกบ้างเป็นครั้งคราว
ตัวละคร ปีเตอร์ แพน ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนหนึ่งของ The Little finger" ซึ่งเป็นนวนิยายสำหรับผู้ใหญ่ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1902 หลังจากนั้นจึงได้พิมพ์แยกเป็นเรื่องของตนเองในปี ค.ศ. 1906 ในฐานะหนังสือเด็ก ใช้ชื่อเรื่องว่า Peter Pan in Kensington Gardens ปีเตอร์ แพนมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาจากการแสดงละครเวทีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1904 เรื่อง Peter Pan หรือ The Boy Who Wouldn't Grow Up ต่อมามีการดัดแปลงละครเวทีเรื่องนี้ไปเป็นนวนิยาย ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1911 ใช้ชื่อเรื่องว่า ปีเตอร์กับเวนดี้ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น ปีเตอร์ แพน กับเวนดี้ ชื่อสกุลของ "แพน" มาจากชื่อของเทพกรีกองค์หนึ่งผู้เป็นเทพแห่งดนตรี ซึ่งปีเตอร์มักเป่าขลุ่ยชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ขลุ่ยแพน"
ในเวลาต่อมา ปีเตอร์ แพน ถูกดัดแปลงและสร้างเหตุการณ์ต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังเรื่องเล่าเดิมไปอีกมากมาย ผลงานดัดแปลงวรรณกรรมเรื่องนี้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนของ วอลท์ ดิสนีย์ เรื่อง ปีเตอร์ แพน ในปี ค.ศ. 1953 นอกจากนี้มีการแสดงละครเพลงบรอดเวย์
 เรื่อง ปีเตอร์ แพน ภาพยนตร์เรื่อง ฮุค ในปี ค.ศ. 1991 ภาพยนตร์เรื่อง ปีเตอร์ แพน ในปี ค.ศ. 2003 และนวนิยายภาคต่อ เรื่อง Peter Pan in Scarlet ในปี ค.ศ. 2006 นอกจากนี้ ปีเตอร์ แพน ยังปรากฏในผลงานอื่นๆ อีกมากมายทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง เป็นที่รู้จักกันไปกว้างขวางทั่วทั้งโลก

      

   

  















วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะไทย

ลายไทย


การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่

ปฐมกำเนิดลายไทย

        อันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้
        ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนปั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
        ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน

ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่

        1. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
        2. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
        3.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
        4.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
        การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป

ศิลปภาพลายไทย

        ชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ

ภาพมโหรีหญิง

แสดงการเล่นดนตรีไทย มีดีด สี ตี เป่า เครื่องดีด-กระจับปี่ ,เครื่องสี-ซอสามสาย ,เครื่องตี-กรับ ฉิ่ง และโทน , เครื่องเป่า-ขลุ่ย ได้แบบอย่างมาจากถาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์

ภาพกินรี

สดงถึงความอ่อนหวาน ของดอกไม้ (ดอกบัว) จากอีกตัวหนึ่ง ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะ ลีลาของการนั่ง ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก และการยืนพักอิริยาบททั้งสอง ตลอดจนศิราภรณ์ และเครื่องตกแต่งร่างกาย

ภาพกินนร

คือมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรียกว่า กินรี และกินรา ในภาพแสดงให้เห็น กินรากำลังขอความรัก หรือความเห็นใจจากกินรี ซึ่งกินรีก็ได้แต่เอียงอาย ตามวิสัยเพศหญิงอันพึงมี

ภาพฟ้อนรำหญิงชาย

 

อ้างอิงจาก http://globalwarming.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2